วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

สมาชิก

1.นางสาวกันต์ฤทัย ทองจำรูญ        60143202

2.นางสาวจิราลักษณ์ ยะคำป้อ          60143203

3.นายชัชนนท์          ช่วยจันทร์         60143215

4.นายนทีกานต์        จองแอ             60143222

5.นางสาวนิศารัตน์    โพธิ์ศรีนาค      60143242

6.นางสาวอัจฉรา       มณีโชติ           60143246

BUS System

 ระบบบัส (BUS System) คือเส้นทางที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียวกัน ทั้งภายในแผงวงจรหลัก และอุปกรณ์ที่อยู่บน Slot ของระบบบัสส่วนเชื่อมโยงต่างๆ ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยวงจรทางไฟฟ้า ที่เรียกว่าระบบบัส
บัสที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์คือ ชุดของการเชื่อมต่อแบบขนานอย่างง่าย ซึ่งมีอยู่บนแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนการควบคุมต่างๆ เช่น CPU Chip Peripheral ต่างๆ และระบบของหน่วยความจำ เมื่อใดก็ตามที่มีการส่ง หรืออ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหรือ พอร์ท อินพุทเอ้าท์พุทต่างๆ ตำแหน่งที่อยู่ของหน่วยความจำ หรือพอร์ท จะถูกกำหนดโดยค่าของตัวเลข หรือหมายเลข แอดเดรส ที่ใช้บ่งชี้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีการถ่ายโอนข้อมูล แอดเดรสจะถูกส่งผ่านตามส่วนของบัสที่เรียกว่า แอดเดรสบัส (Address Bus) เมื่อแอดเดรสได้ถูกกำหนดแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปยังส่วนของบัสที่แยกออกไปซึ่งเรียกว่า ดาต้าบัส (Data Bus) นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ใช้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ในระบบ ซึ่งแยกออกมาเฉพาะเรียกว่าบัสควบคุม (Control Bus) การควบคุม การเขียน อ่านข้อมูล เป็นต้น

บัสเสริม (expansion bus) จะทำให้อุปกรณ์ภายนอกระบบสามารถติดต่อกับหน่วยประมวลผลได้ อุปกรณ์ต่อพ่วงจะต่อเข้ากับพอร์ต ซึ่งพอร์ตจะต่ออยู่บน ช่องเสริม (expansion slot) ซึ่งช่องเสริมนี้จะต่อกับ บัสเสริมเพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล รูปข้างล่างนี้เป็นรูปของการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ผ่านทางบัสระบบ และบัสเสริม บัสเสริมบนเมนบอร์ดมีหลายชนิด แต่ละชนิดบ่งบอกถึงชนิดของการ์ดที่ต่างๆ ที่ต่ออย่บนคอมพิวเตอร์ 
ได้แก่ บัส ISA, บัส PCI, บัส AGP, บัส USB และบัสไฟร์ไวร์

ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก http://supawutal.blogspot.com/p/3.html

ISA Bus

ISA Bus (ISA=Industry Standand Architecture)

ในยุคของ PC AT หรือ ตั้งแต่ CPU รุ่น 80286 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ เส้นทางข้อมูลจาก 8 Bit ไปเป็น 16 Bit ทำให้ IBM ต้องมาทำการออกแบบระบบ Bus ใหม่ เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลทีละ 16 Bit ได้ แน่นอนว่า การออกแบบใหม่นั้น ก็ต้องทำให้เกิดความเข้ากันได้ย้อนหลังด้วย ( Compatble ) กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานกับ PC Bus ได้ด้วย
แต่ปัญหานี้ IBM แก้ไข โดยการทำ Slot มาต่อเพิ่มจาก PC Bus เดิม อีก 36 Pin โดยที่เพิ่มเส้นทางข้อมูลอีก 8 Pin รวมแล้วก็จะเป็น 16 Pin สำหรับส่งข้อมูลได้ทีละ 16 Bit พอดี และ เพิ่ม 4 Pin สำหรับทำหน้าที่อ้างตำ- แหน่งจากหน่วยความจำ ซึ่งก็จะรวมเป็น 24 Pin และ จะอ้างได้มากถึง 16 Meg. ( 2 ยกกำลัง 24 ) ซึ่งก็เป็นขนาดของหน่วยความจำสูงสุดที่ CPU 80286 นั้น สามารถจะอ้างได้ แต่อย่างไรก็ตาม การอ้าง ตำแหน่งของ I/O Port นั้น ก็ยังคงถูกจำกัดไว้ที่ 1,024 อยู่ดี เนื่องจาก ปัญหาด้านความเข้ากันได้ กับ PC Bus
นอกจากนี้ Pin ที่เพิ่มเข้ามา ยังช่วยเพิ่มการอ้างตำแหน่ง DMA และ ค่าของ IRQ เพิ่มอีกด้วย ซึ่งเรื่องของ DMA และ IRQ Slot แบบใหม่นี้ เรียกว่าเป็น Slot แบบ 16-Bit ซึ่งต่อมาก็เรียกกันว่าเป็น AT Bus แต่เราจะรู้จักกันในนามของ ISA Bus มากกว่า โดยคำว่า ISA มาจากคำเต็มว่า Industry Standard Architecture





รูปแสดงรูปร่าง ของ ISA Bus แสดงตำแหน่งของทั้ง 8 Bit และ 16 Bit
เราสามารถนำ Card แบบ 8 Bit มาเสียบลงบนช่อง 16 Bit ได้ เพราะ ใช้ สถาปัตยกรรมพื้นฐานเหมือนๆกัน จะต่างกันก็ตรงส่วนที่เพิ่มมา สำหรับ 16 Bit เท่านั้น ซึ่งจะใช้ ( ในกรณีที่ใช้ Card 16 Bit ) หรือ ไม่ใช้ ( ในกรณีใช้ Card 8 Bit ) ก็ได้
ระบบ Bus แบบ ISA Bus นี้ มีความกว้างของ Bus เป็น 8 MHz และ สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 8 MB ต่อ วินาที

ข้อดีของ ISA
1. กรองได้เด็ดขาด ไม่มีเล็ดรอด
2. ทำงานระดับ LAYER 7
3.  เพราะเป็นของ MS จึงสามารถทำงานร่วมกับ AD ได้อย่างไม่มีปัญหา
4. ใช้งานร่วมกับ MS SYSTEM CENTER เพื่อปฏิบัติตาม  พรบ. คอมฯ 2550 ได้ 100%


ข้อเสียของ ISA
1. แพง
2. เราต้องเสีย ค่าใช้จ่ายเพิ่มดังนี้
- ค่า LIC ของ WINDOWS
- ค่าเครื่องเซิฟเวอร์
- ค่าไฟ


ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก http://www.nextproject.net/contents/default.aspx?00064

PCI BUS

PCI (Peripheral Component Interconnection)

ความหมายของ PCI
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการใช้งาน ความเร็วในการใช้งาน เมื่อเราจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไว้ใช้งานเราควรรู้ถึงรายละเอียดต่าง ๆของคอมพิวเตอร์เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องว่าสิ่งที่เราเลือกนั้นตรงตามที่เราต้องการหรือไม่ ในรายละเอียดของเมนบอร์ด จะเห็นได้ว่าจะมีคำว่า PCI และ PCI Express อยู่ซึ่งทั้ง 2 แบบเป็นช่องเสียบอุปกรณ์ที่จากภายนอกเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์และช่องเสียบทั้งสองแบบนี้มีหน้าที่และความแตกต่างกันอย่างไร




ตัวอย่าง PCI Card


     PCI คืออะไร
PCI ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnection คือช่องเสียบอุปกรณ์ ต่าง ๆ อาทิ การ์ดเสียง การ์ด Network โมเด็มแบบ Internal แม้กระทั่งการ์จอ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานควบคู่ไปกับซีพียูได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง PCI มีความสามารถที่จะส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยมีแบนด์วิดท์ (Band width) อยู่ที่ 32 บิต และ 64 บิต โดย PCI แบบ 64 บิตนี้เราจะเรียกว่า PCI-X โดยความเร็วในการส่งข้อมูลของ บัส 32 บิตนั้นสามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 132 MB/Sec แต่ถ้าเป็นบัสขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วอยู่ที่ 264MB/Sec ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่เกี่ยวกับกราฟฟิกที่ต้องการความละเอียดสูง

ประโยชน์ของพอร์ต PCI นั้นสามารถแบ่งออกมาเป็นข้อ ๆได้ดังนี้
1. พอร์ต PCI เป็นสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งได้อัตโนมัติ ไม่เหมือนกับพอร์ตรุ่นเก่า VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยากเพราะในการติดตั้งอุปกรณ์แต่ละครั้งต้องมีการเซ็ทค่าของจัมเปอร์ทุกครั้ง ซึ่งพอร์ต PCI ไม่ต้องเซ็ทค่าอะไร เมื่อเสียบอุปกรณ์ลงไปแล้วก็สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เลย ซึ่งระบบนี้เรียกว่า Plug and Play นั่นเอง
2. พอร์ต PCI สามารถที่จะตรวจสอบความผิดพลาดต่างๆได้พร้อมทั้งรายงานการผิดพลาดขณะส่งถ่ายข้อมูล
3. พอร์ต PCI มีระบบการทำงานที่รวดเร็ว เพราะการเข้าถึงอุปกรณ์แต่ละตัวที่มีการติดตั้งนั้นจะใช้เวลาไม่นาน และมีการเตรียมเขียนและอ่านคำสั่งไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้มีการเสียเวลาในการอ่านและเขียนคำสั่งต่อไป
สรุปรวมแล้วพอร์ต PCI นั้นเป็นพอร์ตที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆได้ทันทีโดยไม่ต้องเซ็ทค่าต่างๆ ให้ยุ่งยากเพียงแต่ลงไดร์เวอร์เพิ่มเติมก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งในปัจจุบันไดร์เวอร์ต่างๆจะมีอยู่ในระบบปฎิบัติการณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็เปรียบเสมือนว่าเราไม่ต้องลงไดร์เวอร์ให้ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อนแล้วนั่นเอง


ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก HTTPS://SITES.GOOGLE.COM/SITE/YANIKASYSTEM/

AGP BUS

AGP BUS

ในกลางปี 1996 เมื่อ INTEL ได้ทำการเปิดตัว INTEL PENTIUN II ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ ACCELERATED GRAPHICS PORT หรือ AGP ซึ่งก็ได้เปิดตัว CHIPSET ที่สนับสนุนการทำงานนี้ด้วย คือ 440LX AGP นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับ CHIPSET ของระบบแบบ POINT-TO-POINT ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CARD AGP กับ CHIPSET ของระบบได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทางเฉพาะสำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ RENDER ภาพแบบ 3D ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยจากเดิม CARD แสดงผลแบบ PCI นั้นจะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำเป็น CARD เพราะเมื่อต้องการใช้งานด้านการRENDER ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน CARD นั้นมากๆ เพื่อรองรับขนาดของพื้นผิว ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน RENDER แน่นอนเมื่อหน่วยความจำมากๆ ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้นทาง INTEL จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่องานด้าน GRAPHICS นี้โดยเฉพาะ AGP จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา AGP นั้นจะมี MODE ในการ RENDER อยู่ 2 แบบ คือ LOCAL TEXTURING และ AGP TEXTURING โดยใช้ LOCAL TECTURING นั้นจะทำการ COPY หน่วยความจำของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ CARD จากนั้นจะทำการประมวลผลโดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์บน PCI ด้วย วิธีการนี้จะเพิ่มขนาดของหน่วยความจำเป็น CARD มาก AGP TEXTURING นั้นเป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วยลดขนาดของหน่วยความจำ หรือเฟรมบัฟเฟอร์บน DISPLAY CARD ลงได้มาก เพราะสามารถใช้งานหน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลย โดยไม่ต้องดึงข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ CARD ก่อน โดยปกติแล้ว AGP จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งแม้ว่าระบบจะใช้ FSB เป็น 100 MHz แต่มันก็ยังคงทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งใน MODE ปกติของมันก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือนกับ PCI แบบ 66 MHz เลยโดยจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงถึง 266 M/s และนอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66MHz จึงเท่ากับว่ามันทำงานที่ 133 MHz ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลขึ้นได้สูงถึง 523 M/s ซึ่งเรียก MODE นี้ว่า MODE 2X และ MODE ปกติว่าMODE 1X สำหรับความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลนั้น ก็ขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำหลักด้วย ถ้าหน่วยความจำหลักเป็นชนิดที่เร็วก็จะยิ่งช่วยเพิ่มอัตราเร็วในการส่งถ่ายมากขึ้น ดังนี้
               - EDO RAM หรือ SD RAM PC 66 ได้ 528 M/s
               - SD RAM PC 100 ได้ 800 M/s
               - DR RAM ได้ 1.4 G/s
     อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบบัสแบบ AGP ทำได้ดีกว่า PCI ก็เพราะเป็น SLOT แบบเอกเทศไม่ต้องไปใช้ BANDWIDTH ร่วมกับใคร


ข้อดีของ AGP

   จากความต้องการในการใช้งานด้าน Graphics อย่างสูง ทั้งเรื่องเกมส์ 3D ซึ่งต้องในการประมวลผลด้าน Graphics แบบ Real-Time และ Streaming VDO ซึ่งต้องการการรับส่งข้อมูลคราวละมากๆ เกินความสามารถของ PCI Bus ที่จะรองรับไว้ได้อีกต่อไป ทาง Intel จึงได้พัฒนาและเปิดตัวระบบ Bus ใหม่นี้ ขึ้นมาเมื่อปีค.ศ. 1996 และให้ชื่อว่า Accelerated Graphics Port ( AGP ) โดยการจับเอาระบบ Bus แบบ PCI มาปรับแต่ง พัฒนาขึ้นใหม่ เพื่องานด้าน Graphics โดยเฉพาะ การติดต่อสื่อสารระหว่าง Graphics Chip กับหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU ) ในเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ ก็เหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ คือ ต้องผ่านระบบ Bus ในการรับส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งแม้ว่า AGP นี้ จะพัฒนาขึ้นจากระบบ Bus แบบ PCI แต่ว่าเป็นการสร้างช่องทางรับส่งเฉพาะของตน ในแบบ Point-to-Point และใช้งานเพียงด้านนี้ด้านเดียว ที่ Slot เดียว ไม่มีการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ หรือ Card อื่นๆ ใดทั้งสิ้น เป็นการต่อตรงระหว่าง Graphics Port และ CPU โดยตรง ดังนั้น ในความเป็นจริง จึงไม่อาจถือว่าระบบ AGP นี้ เป็นระบบ Bus อย่างแท้จริงได้




ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก HTTPS://SITES.GOOGLE.COM/SITE/KHRUBUYCHU/TAW-CHI-WAD-THI-2-BAS-BUS-LAEA-XUPKRN-KHXMPHIWTEXR/BAS-BUS/AGP-BUS

USB BUS

USB (Universal Serial Bus)



ระบบยูเอสบีเป็นการออกแบบโดยประกอบด้วย โฮสท์คอนโทรลเลอร์ และอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมในรูปแบบต้นไม้โดยใช้อุปกรณ์พิเศษเรียกว่า "ฮับ (hub)" โดยมีข้อจำกัดของการต่อเชื่อมฮับได้ไม่เกิน 5 ระดับต่อ 1 คอนโทรลเลอร์ และสามารถต่อเชื่อมได้กับอุปกรณ์ 127 อุปกรณ์ต่อ 1 โฮสท์คอนโทรลเลอร์ โดยนับรวมฮับเป็นอุปกรณ์ด้วย ในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ จะมีโฮสท์คอนโทรลเลอร์อยู่หลายช่อง ซึ่งพอเพียงสำหรับการต่อเชื่อมอุปกรณ์จำนวนมาก ๆ การต่อเชื่อมแบบยูเอสบีไม่จำเป็นต้องมีจุดสิ้นสุด (terminator) เหมือนการต่อเชื่อมแบบ SCSI

สามารถเชื่อมต่อดีไวซ์ได้มากขึ้น โดยสามารถเชื่อมต่อได้ถึง 127 ดีไวซ์ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดถึง 480 เมกะบิตต่อวินาที หรือ 60 เมกะไบต์ต่อวินาที (ใน USB 2.0) ทั้งสัญญาณเสียง และสัญญาณภาพ
ลดการใช้รีซอร์ส IRQ และสล็อต (Slot) สำหรับการ์ดต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงในคอมพิวเตอร์ได้อย่างมาก
สนับสนุนการทำงานแบบ Plug&Play โดยเป็นการขยายความสามารถ ฟีเจอร์นี้ทำให้นำมาใช้งานกับอุปกรณ์ภายนอกที่สนับสนุนฟีเจอร์นี้ได้


ข้อดีของ USB

-ฮาร์ดแวร์- USB Controller/Root Hub เป็นฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลบนบัสแบบ USB โดยมี Root Hub เป็นจุดเชื่อมต่อที่อยู่บนเมนบอร์ด เช่นกัน

- USB Hubs เป็นฮับแบบหนึ่งทำหน้าที่ขยายการเชื่อมต่อเพื่อติดตั้งดีไวซ์ USB ได้มากขึ้น เช่น คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เป็นต้น โดยมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ Hub Controller และ Hub Repeater

อุปกรณ์ USB เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ USB โดยมีหัวต่อของอุปกรณ์ 





ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจากhttp://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://old.smkcc.ac.th/micro/upload/bus_02.ppt

FireWire BUS

ไฟร์ไวร์ (FireWire)
เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกความเร็วสูง และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ต้องการอัตราการส่งผ่าน ข้อมูลสูงๆ เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอหรืออุปกรณ์แบ็กอัพข้อมูลขนาดใหญ่ IEEE 1394 นั้นถูกออกแบบให้เป็นบัสอนุกรมประสิทธิภาพสูง มีลักษณะการทำงานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่จะใช้การต่อเชื่อมเป็นแบบอนุกรม ซึ่งถูกพัฒนาให้มีการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 800 Mbps โดยเรียกกันว่า IEEE 1394 , Fire Wire หรือ I-link ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ อุปกรณ์ต่อ พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)


ข้อดี
• ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• Analog / Digital Converter จะทำเฉพาะที่อุปกรณ์เครื่องใช้ต้นทางเท่านั้น หลักจากนั้นจะเป็น Digital ทั้งหมด
• สายสัญญาณขนาดเล็กที่เชื่อมต่อสามารถขยายความยาวออกไปได้ด้วยสายเชื่อมต่อ พิเศษที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาแพง
• ไม่ต้องใช้จุดเปิด หรือ Terminator ไม่ต้องกำหนด device ID และไม่ต้องกำหนดหมายเลขใดๆ ที่ตัวอุปกรณ์
• Hot-pluggable คือ เราสามารถต่อเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ออกในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ได้ (การเสียบ/ถอดโดยไม่ต้องปิดเครื่อง)
• ออกแบบมาให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทคอนซูเมอร์จึงมีราคาถูก
• เป็นระบบที่ทำให้อุปกรณ์ความเร็วต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้ 100 , 200 , 400 และ 800 Mbps
• รูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นทั้ง daisy chain การต่อแยกแบบ Tree และการต่อตรงแบบ Peer – to – Peer
• มีขบวนการในการควบคุมเวลา สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยมีจุดพักข้อมูลที่น้อยที่สุด
• เป็นระบบเปิดไม่ผูกขาดสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
• ขบวนการบริหาร “Bus” มีระบบป้องกันที่ดีมาก รวมทั้งการจัดสรรแหล่งพลังงานของทุกตัวอุปกรณ์ที่อยู่บน “Bus” เดียวกัน อุปกรณ์ต้องสามารถสัมผัสการต่อเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว 


ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก 
https://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3