วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

PCI BUS

PCI (Peripheral Component Interconnection)

ความหมายของ PCI
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการใช้งาน ความเร็วในการใช้งาน เมื่อเราจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไว้ใช้งานเราควรรู้ถึงรายละเอียดต่าง ๆของคอมพิวเตอร์เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องว่าสิ่งที่เราเลือกนั้นตรงตามที่เราต้องการหรือไม่ ในรายละเอียดของเมนบอร์ด จะเห็นได้ว่าจะมีคำว่า PCI และ PCI Express อยู่ซึ่งทั้ง 2 แบบเป็นช่องเสียบอุปกรณ์ที่จากภายนอกเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์และช่องเสียบทั้งสองแบบนี้มีหน้าที่และความแตกต่างกันอย่างไร




ตัวอย่าง PCI Card


     PCI คืออะไร
PCI ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnection คือช่องเสียบอุปกรณ์ ต่าง ๆ อาทิ การ์ดเสียง การ์ด Network โมเด็มแบบ Internal แม้กระทั่งการ์จอ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานควบคู่ไปกับซีพียูได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง PCI มีความสามารถที่จะส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยมีแบนด์วิดท์ (Band width) อยู่ที่ 32 บิต และ 64 บิต โดย PCI แบบ 64 บิตนี้เราจะเรียกว่า PCI-X โดยความเร็วในการส่งข้อมูลของ บัส 32 บิตนั้นสามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 132 MB/Sec แต่ถ้าเป็นบัสขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วอยู่ที่ 264MB/Sec ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่เกี่ยวกับกราฟฟิกที่ต้องการความละเอียดสูง

ประโยชน์ของพอร์ต PCI นั้นสามารถแบ่งออกมาเป็นข้อ ๆได้ดังนี้
1. พอร์ต PCI เป็นสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งได้อัตโนมัติ ไม่เหมือนกับพอร์ตรุ่นเก่า VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยากเพราะในการติดตั้งอุปกรณ์แต่ละครั้งต้องมีการเซ็ทค่าของจัมเปอร์ทุกครั้ง ซึ่งพอร์ต PCI ไม่ต้องเซ็ทค่าอะไร เมื่อเสียบอุปกรณ์ลงไปแล้วก็สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เลย ซึ่งระบบนี้เรียกว่า Plug and Play นั่นเอง
2. พอร์ต PCI สามารถที่จะตรวจสอบความผิดพลาดต่างๆได้พร้อมทั้งรายงานการผิดพลาดขณะส่งถ่ายข้อมูล
3. พอร์ต PCI มีระบบการทำงานที่รวดเร็ว เพราะการเข้าถึงอุปกรณ์แต่ละตัวที่มีการติดตั้งนั้นจะใช้เวลาไม่นาน และมีการเตรียมเขียนและอ่านคำสั่งไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้มีการเสียเวลาในการอ่านและเขียนคำสั่งต่อไป
สรุปรวมแล้วพอร์ต PCI นั้นเป็นพอร์ตที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆได้ทันทีโดยไม่ต้องเซ็ทค่าต่างๆ ให้ยุ่งยากเพียงแต่ลงไดร์เวอร์เพิ่มเติมก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งในปัจจุบันไดร์เวอร์ต่างๆจะมีอยู่ในระบบปฎิบัติการณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็เปรียบเสมือนว่าเราไม่ต้องลงไดร์เวอร์ให้ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อนแล้วนั่นเอง


ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิงจาก HTTPS://SITES.GOOGLE.COM/SITE/YANIKASYSTEM/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น